รู้ได้ไงว่าเป็นกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง? กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเกิดจากอะไร?
กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงหรือภาวะหนังตาตก/เปลือกตาตก เป็นภาวะที่เปลือกตาหรือกล้ามเนื้อยึดลูกตาอ่อนแรงหลังจากใช้งานไประยะหนึ่ง ซึ่งสาเหตุกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเกิดได้จากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย บริเวณรอยต่อระหว่างเส้นประสาทและกล้ามเนื้อลาย ทำให้สารสื่อประสาททำงานลดลง และมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง ทำให้กล้ามเนื้อตาที่ทำหน้าที่คอยควบคุมการเปิด-ปิด ไม่สามารถยกหนังตาขึ้นได้หรือยกได้แต่ไม่เต็มที่ ส่งผลให้เปลือกตาด้านบนปิดลงมามากกว่าปกติทำให้เห็นตาดำไม่ครบวง มีอาการตาปรือไม่สดใสและอาจมีปัญหาหนังตาตก, ตาปรือ, เบ้าตาลึก, ชั้นตาหนา,ร่วมด้วยจนดูเสียบุคลิกภาพ
แต่ถ้าเป็นกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงข้างเดียวจะทำให้ตาสองข้างลืมได้ไม่เท่ากัน หรือตาไม่เท่ากัน เนื่องจากกล้ามเนื้อตามัดเล็กไม่มีแรงพยุงหนังตาหรือชั้นหนังตาของเราให้ขึ้นได้ ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงสามารถพบได้ในทุกเพศและทุกช่วงวัย
3 สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิด “ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง”
- กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงแบบชนิดเป็นมาแต่กำเนิด คือ การที่กล้ามเนื้อตาถูกสร้างโดยมีไขมันแทรกแทนมัดกล้ามเนื้อ สามารถนำไปสู่ภาวะตาขี้เกียจได้
- กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงจากความเสื่อมลงของกล้ามเนื้อเปิดตาจนเกิดภาวะอ่อนแรง จากการที่กล้ามเนื้อยืดหย่อนลง หรือ หลุดออกจากจุดเกาะของชั้นตาของอายุที่มากขึ้น
- กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงจากการผ่าตัดตาสองชั้นที่ผิดพลาด จากการทำตาสองชั้นที่สูงเกินไปก่อเกิดปัญหาพังพืดที่กล้ามเนื้อตาไปยึด มีภาวะหนังตาตกหลังการผ่าตัด
เช็คด่วน 5 อาการกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
- หนังตาตก ตาปรือ ดูล้าตาดูอิดโรย โฟกัสภาพได้ไม่ชัดเกิดภาพซ้อน
- ลืมตาไม่ขึ้นหรือลืมตาได้ไม่เต็มที่ รู้สึกเมื่อยล้า เพราะต้องใช้กล้ามเนื้อบริเวณใกล้เคียงในการช่วยพยุงเปลือกตาขึ้น
- ตาไม่เท่ากัน หรือตาสองข้างลืมได้ไม่เท่ากัน ข้างที่ตาตกมักจะมีชั้นตาหนาจากไขมัน
- เบ้าตาลึกกว่าปกติ จะมีลักษณะของร่องลึกอยู่เหนือเปลือกตา ส่วนมากจะพบในผู้ที่มีอายุมาก หรือมีภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงร่วมด้วย
- ชั้นตาซ้อนกันหลายชั้นเพราะกล้ามเนื้อตาไม่สามารยืดหดได้อย่างเต็มที่ จนทำให้ผิวหนังเปลือกตาซ้อนทับกันหลายชั้น
วิธีการแก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงโดยการศัลยกรรม
ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาโดยการผ่าตัดศัลยกรรมจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น เพราะกล้ามเนื้อมัดเล็กบริเวณเปลือกตามีความซับซ้อนและบอบบาง เป็นศูนย์รวมของเส้นประสาท โดยแพทย์จะทำการการผ่าตัดลงลึกไปถึงชั้นกล้ามเนื้อตามัดเล็กเพื่อปรับระดับการยกของกล้ามเนื้อขึ้น โดยการรักษาแบ่งออกเป็น 3 แบบตามเทคนิคที่ใช้ต่างกัน
- รักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรง เทคนิคดึงกล้ามเนื้อเปิดตา แบบแผลด้านใน
เหมาะสำหรับคนไข้ที่กล้ามเนื้อตายังสามารถพยุงให้เปิด-ปิดตาได้เองอยู่บ้าง ผลข้างเคียงหลังการผ่าตัดจะน้อย มีอาการบวมช้ำไม่มากน้อยกว่า 7 วัน ไม่เห็นแผลเป็นด้านนอก ได้ชั้นตาที่เป็นธรรมชาติ - รักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรง เทคนิคดึงกล้ามเนื้อเปิดตา แบบแผลด้านนอกที่แผลชั้นตา
จะทำในเคสที่คนไข้มีภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงตกมาก การผ่าตัดจะลงลึกเข้าไปในชั้นกล้ามเนื้อด้านใน เพื่อให้กล้ามเนื้อเปิดตาทำงานและปรับระดับการยกของกล้ามเนื้อขึ้นให้เป็นปกติ โดยหลังการผ่าตัดกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงจะพบอาการบวมช้ำประมาณ 20-30 วัน หรือ 1 เดือน เหมือนการทำผ่าตัดตาสองชั้นตามปกติทั่วไป - รักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรง เทคนิคดึงกล้ามเนื้อเปิดตา โดยใช้แรงดึงจากกล้ามเนื้อหน้าผาก
เป็นการผ่าตัดในคนไข้ที่พบภาวะกล้ามเนื้อตาตกอย่างรุนแรง มักพบในผู้ที่มีภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงแต่กำเนิด แพทย์จะทำการผ่าตัดโดยการใช้เทคนิคการดึงสลิง เป็นการร้อยเส้นเอ็นจากเปลือกตาไปแขวนไว้กับหน้าผากโดยใช้แรงดึงจากกล้ามเนื้อหน้าผากช่วยในการลืมตา
การดูแลหลังผ่าตัดกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
- การดูแลหลังผ่าตัดกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง หลีกเลี่ยงไม่ให้แผลโดนน้ำภายในระยะเวลา 3 วันหลังทำการป้องการไม่ให้แผลเกิดการอักเสบหรือติดเชื้อได้
- งดหรือพักการใช้สายตาหลังผ่าตัดกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง โดยเฉพาะในช่วง 2-3 วันแรกหลังทำการผ่าตัด หลีกเลี่ยงแสงแดดและฝุ่นละอองที่อาจเข้าตาทำให้เกิดการระคายเคือง
- การดูแลหลังผ่าตัดกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ควรระมัดระวังการยกของหนัก รวมถึงการออกกำลังกายที่ควรพักไว้ก่อนจนกว่าแผลผ่าตัดจะหายดีเป็นปกติ
- หลีกเลี่ยงอาหารไม่ถูกสุขอนามัยหลังผ่าตัดกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง รวมถึงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ งดสูบบุหรี่จนกว่าแผลจะหายดี
{{ item[0] }}